ซอฟต์แวร์  คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแหร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิด เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิส เป็นต้น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์
    ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอรืและเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวรื เราก้ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำฟหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

ประเภทของซอฟต์แวร์
    ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ
-ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
-ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

๑.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
    ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
    System Software หรือโปรแกรมระบบที่รุ้จักกันดีก็คือ DOS,Windows,Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic,FortranmPascal,Cobol,C เป็นต้น
    นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบ เช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
๑.ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
๒.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
๓.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารในระบบ (directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
  ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
-ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
-ตัวแปลภาษา
ระบบปฏิบัติการ
๑.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
๑.)ดอส (Disk Operating System : Dos)
๒.)วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบุติการที่พัฒนามาจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานพร้อมกันในหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพการใช้งานเน้นรูปแบบกราฟฟิก ผู้ใช้งสนสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏอยู่บนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบบฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

๓.)ยูนิกซ์ (Unix)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการยูนิกซเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด(Open system)ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณืที่มียี่ห้อเดียวกันยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานที่มีลักษณะผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลาย
ภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซจึงถูกนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานหลายเครื่องพร้อมกัน

๔.)ลีนุกซ์ (linux)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบที่มีการแจกจ่าย โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เน่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดนเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว
(GNU)
และสิ่งสำคัญที่สุดคือระบบลุนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี(Free ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันวปาร์ค (Sun Sparc) ถึงแม้ว่าขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดว์สบนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น

๕.) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสนำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วยมากนำไปใช้ด้านกรฟฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้สำนักพิมพ์ต่างๆ
นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมายังมีระบบปฏิบัติการอีกมากมาย เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน
การทำงานของระบบ network และ internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1 เครือข่ายเฉพราะที่
เป็นเครือข่ายที่มักพบเห็นกันในองค์กรโดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้๐กันเช่น อยู้ภายในอาคาร
2 เครือข่ายเมือง
เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
3 เครือข่ายบริเวณกว้าง
เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้น เครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการครอบคลุมไปทั้วประเทศ หรีอทั่วโลก เชน อินเทอร์เน็ต ซึ่งถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
       รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย Network Topology การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย อันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์และการเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย รวมถึงหลัการไหลเวียนข้อมูลในเครือข่ายแบ่งได้ 4 แบบคือ1เครือข่ายแบบดาว 2เครือข่ายแบบวงแหวน 3เครือข่ายแบบบัส 4เครือข่ายแบบต้นไม้
  1 แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆมาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้ยวการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับกลาง
    ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบดาว เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบดาวจะเป็นแบบ 2 ทิศทางฏกยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้
 2  แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเองโดยตะมีการเชื่อมโยงของสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่อข่ายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครืองขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อยๆเป้นวงหากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานี
 3 แบบบัส เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่างๆด้วย สายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อยๆโดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่ไม่ให้ทุสถานีส่งข้มูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วีธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่สถานีใช้ความถี่
 4 แบบต้นไม้ เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป้นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม

       การนประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสารและการแบ่งปันการใช้ทรัพยยากรระหว่างเครื่งคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะหมายทั้งหมด
  รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3ประเภท
1 ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
2 ระบบเครือข่ายแบบ peer-to Peer
3ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server
              1 ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
     เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินนอลที่อยู่รอบๆ ใช้การเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลท่เครื่องกลางซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมประสิทธิภาพสูง
               2 ระบบเครือข่ายแบบ peer-to Peer
      แต่ละสถานืงานบนระบบเครือข่าย Peer- to Peer จะมีความเท่าเทียมกันกับสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่น การใช้เครืองพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย เคริ่องแต่ละสถานีงานมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง
               3 ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server
ระบบเครือข่ายแบบ Client/ Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย1เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพพยากรต่างๆจากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง

หน่วยที่ ๔

ชนิดของระบบปฏิบัติการ สามารถจำแนกตามการใช้งานออก 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1.ประเภทใช้งานเดียว (Single-tasking) ระบบปฏิบัติงานประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอสเป็นต้น
2.ประเภทใช้หลายงาน (Multi-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน Windows 98 ขึ้นไป และUNIX เป็นต้น
3.ประเภทใช้งานหลายคน (Multi-user) ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ UNIX เป็นต้น
2.ตัวแปลภาษา
   การพัฒนาซอฟแวร์ต้องอาสัยซอฟแวร์ที่ให้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
   ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟแวร์ในภายหลังได้
   ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา
ซึ่งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic ,Pascal ,C และภาษาโลโก้ เป็นต้น
   นอกจากนี้ ยังมีภาษษคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากได้แก่ Fortran ,Cobol, และภาษาอาร์พีจี
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
(Application Software)
  ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ (proprietary software)
2. ซอฟแวร์ที่หาชื้อได้ทั่วไป (Packaged software) มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ และโปแกรมมาตรฐาน
ประเภทของซอฟแวร์ประยุกต์
 แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มการใช้งานทางธุรกิจ (Business)
2. กลุ่มการใช้งานด้ารกราฟฟิกและมัลติมีเดีย (Graphic and Multimedia)
3. กลุ่มการใช้งานบนเว็บ (Wed and communications)
กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองานและการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่าง เช่น
โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word ,son staroffice Writer
โปรแกรม ตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Exce ,sun son staroffice cals
โปรแกรมนำเสนองาน อาทิ Microsoft Powerpoin
กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟฟิก และมัลติมีเดีย
ซอฟแวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยการจัดการด้านงานกราฟฟิกและมัลติมิเดีย เพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่งงาน วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเครื่อนไหว และการสร้างและการออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
โปรแกรมออกแบบ อาทิ Microsoft Visioprofessional
โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CoreLDRAW,Adobe photoshop
โปรแกรมตัดต่อวีดีโอและเสียง อาทิ Adobe  premiere , pinnacle studio DV
โปแกรมสร้างสือมัลติเมียเดีย อาทิ Adobe Authorware , Toolbook Insttructor, Adobe Director
โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash , Adobe Dreamweaver
กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสือสาร
เมื่อเกิดการโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟแวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเซ็คอีเมลการท่องเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่
โปแกรมจักการอีเมล อาทิ Microsoft Outlook
โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer
โปแกรมประชุมทางไกล อาทิ Microsoft Netmeeting
โปรแกรมส่งข้อความด่วน (Instant Messsaging) อาทิ MSN Messenger
โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH , MIRCH
ความจำเป็นของการใช้ซอฟแวร์
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีความยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอัษร เป็นประโยค ข้อความ ภาษษในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดัยสูงมีอยู่มากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนาณทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านจัดการข้อมูล
ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการช่วยในการทำงารนมนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง
ถ้าเปรียบเทียบกัยชีวิตประจำวันแล้วเรามีภาษาที่ใชในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฏิบัตฺตามจะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุกต์ด้วย
ภาษาเครื่อง
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญษณทางไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันทีแต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร
ภาษาแอสเซมบลี Assembl  Languages
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครืองอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์(Assembler)เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูง
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเข้าใจชุดคำสั่งเพื่องสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเรียนรู้และเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาระดับสุงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ด้วยตัวแปลระดับสูงเพื่อเป็นภาษาเครื่องมีอยู่ 2 ชนิด ด้วยกัน คือ
คอมไพเลอร์ (Compile) และ อิเทอร์พรีเตอร์ Interpreter
คอมไพเลอร์ จะทำการแปลภาษาที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
อินเทอร์พรีเตอร์ จะทำการแปลที่ละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลที่ละคำสั่ง